Tuesday, 25 August 2009

Royal Tasmanian Botanical Gardens



นักท่องเที่ยวไทยเรายังไม่ค่อยนิยมไปเดินชมสวนสาธารณะในต่างประเทศมากนัก หากเทียบกับคนต่างประเทศอย่างออสเตรเลียหรือแม้แต่ประเทศเล็กๆอย่างไต้หวันที่นั่นเขาสร้างสวนสาธารณะไว้มากมาย

นิสัยการเดินชมสวนสวยของเรานั้นหากเทียบกับคนยุโรปแล้ว เรายังห่างไกลเขามาก ประกอบกับสวนสาธาณะในบ้านเรานั้นยังน้อยอยู่ เมื่อเทียบกับจำนวนพลเมืองและพื้นที่

หากไปเที่ยวโฮบาร์ตแล้วก็ขอแนะนำให้ไปเดินเที่ยว Royal Tasmanian Botanical Gardens เพราะเป็นสวนเก่าแก่และจัดได้สวยมาก

สวนพฤกษชาติของโฮบาร์ตนี้ เดินไม่ไกลมาก อยู่ห่างจากในเมืองไปทางเหนือประมาณสองกิโลเมตร มีทางเดินตัดไปได้ไม่ต้องเดินไปตามทางหลัก สวนแห่งนี้ก่อสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๓๖๑ หรือเกือบสองร้อยปีมาแล้ว สวนแห่งนี้เก่าแก่เป็นอันดับสองของออสเตรเลีย สร้างขึ้นหลังสวนพฤกษชาติซิดนีย์เพียงสองปีเท่านั้น สวนทั้งสองแห่งที่ว่านี้นับเป็นสวนพักผ่อนหย่อนใจที่สวยที่สุดของออสเตรเลีย และสวนแห่งนี้ยังเป็นสวนที่เพาะพันธุ์ไม้เขตขั้วโลกใต้ต่างๆ ให้ดำรงพันธุ์อยู่ต่อไป

ภาพจาก Garden Tour

Thursday, 13 August 2009

International Wall of Friendship



International Wall of Friendshipอยู่ที่ศูนย์ที่ทำการคอมมอนเวลธ์ สร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงผู้ที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในทัสเมเนีย ตั้งอยู่ที่ 188 Collins Street

ภาพจาก Appleisle Cottages

Tasman Bridge


สะพานทัสมัน

เป็นสะพานทอดยาวข้ามแม่น้ำทางเหนือของเมือง มีความยาวกว่าหนึ่งกิโลเมตร เคยเกิดหายนะครั้งใหญ่ขึ้น เมื่อวันที่ ๕ มกราคม ๒๕๑๘ เวลา ประมาณทุ่มครึ่ง เรือบรรทุกแร่ที่ชื่อ Lake Illawarra เปะเข้ากับต้อม่อสะพานข้างหนึ่ง ทำให้สะพานส่วนหนึ่งยาว ๑๒๗ เมตรพังครืนลงมา มีรถยนต์ตามลงมาด้วย ๔ คัน มีผู้โดยสารที่อยู่ในรถเหล่านั้นเสียชีวิตไป ๕ คน และลูกเรือเ Lake Illawarra เสียชีวิตไปอีก ๗ คน รถยนต์สองคันหล่นไปติดอยู่ในซอกสะพาน แต่ผู้ขับขี่สามารถหนีออกมาได้

ภาพจาก webshot travel

Female Factory


Female Factory

นักโทษสตรีที่ถูกขนมาจากอังกฤษเข้ามายังเกาะทัสเมเนียถูกนำมารวมกันไว้ที่นี่ตั้งแต่ช่วงปีพ.ศ.๒๓๗๑ ว่ากันว่าในช่วงนั้น มีนักโทษแออัดกันอยู่ในสถานที่แห่งนี้ถึง ๑,๐๐๐ คน

ภาพจาก Worldisround

Salamanca Place


ซาลามังก้า เพลส

อาคารแถวแห่งนี้ประกอบไปด้วยแถวอาคารที่เคยใช้เป็นโกดังเมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๓ สร้างด้วยหินทรายแบบจอร์เจี้ยน ปัจจุบันย่านนี้กลายเป็นร้านรวงต่างๆ เช่น ร้านกาแฟ แกลเลอรี่ และภัตราคารต่างๆ วันอาทิตย์มีตลาดนัดซึ่งตลาดนักที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่ผมเคยเห็นมาในทัสมาเนีย ผมชอบเดินไปดูของเก่า ราคราถูกมาก ผมชอบสะสมกล่องขนมปังกรอบ หาซื้อได้จากตลาดแห่งนี้

ภาพจาก Australia Tourist Guide

Parliament House



อาคารรัฐสภา

อาคารรัฐสภาหลังนี้ติดกับตลาดซาลามังก้า อาคารรัฐสภาหลังนี้ออกแบบโดยนายจอห์น ลี อาเชอร์ (John Lee Archer) สถาปนิกซึ่งเป็นผู้ต้องขังชื่อดัง เดิมทีอาคารหลังนี้ใช้เป็นสำนักงานศุลกากร ก่อสร้างโดยนักโทษที่ขนมาจากอังฏฤษ ตั้งแต่พ.ศ. ๒๓๗๘ ถึง พ.ศ. ๒๓๘๓

พอมาถึงพ.ศ. ๒๓๙๙ เมื่อมีรัฐบาลท้องถิ่น ผู้บริหารทัสมาเนียก็เข้ามาใช้เป็นอาคารรัฐสภา มีพิพิธภัณฑ์อยู่ชั้นล่างและสนามหน้าอาคารซึ่งสวยงามมาก

ภาพจาก plan book travel

Anglesea Barracks



Anglesea Barracks เป็นกองบัญชาการทหารที่เก่าแก่ที่สุดในออสเตรเลีย กองบัญชาการแห่งนี้ก่อตั้งขึ้นเมื่อพ.ศ. ๒๓๕๔ ปัจจุบันยังใช้เป็นฐานทหารอยู่

ภาพจาก Appleisle Cottage

Wednesday, 12 August 2009

Battery Point



หากเราจะออกเที่ยวที่โฮบาร์ตนั้นต้องถามใจตัวเองว่าอยากดูจะอะไร บางคนบอกว่า “ดูอะไรก็ได้” ก็อย่างว่าดูไปเรื่อยเปื่ยโดยที่ไม่ทราบว่าชอบอะไรนั้นก็ลำบาก ไม่มีจุดหมาย เที่ยวไม่สนุกนัก

ลองเริ่มที่ว่าจะดูอาคารสถานที่โบราณ ดูพิพิธภัณฑ์ หรือจะดูสถานที่ให้ความเพลิดเพลินสนุกๆ จะดูสวนพฤกษศาสตร์ หรือจะไปดูสัตว์ป่า เดินป่าอะไรเทือกนั้น เมื่อตัดสินใจได้แล้วก็ลองเลือกโปรแกรมสำหรับตนเองและคณะดู

ลองอย่างแรกก่อนละกัน ไปดูสถานที่และอาคารทางประวัติศาสตร์ของโฮบาร์ตกันก่อน

เริ่มกันที่ Battery Point ก่อน

Battery Point เป็นบริเวณที่ชาวอังกฤษขึ้นจากเรือมาตั้งถิ่นฐานเป้นที่แรกๆ บริเวณนี้มีอาคารแบบยุคอาณานิคมอยู่หลายหลัง ปัจจุบันอาคารเหล่านี้ส่วนใหญ่ใช้เป็นภัตราคารบ้าง ใช้เป็นที่พักและโรงแรมบ้าง

ภาพจาก Yahoo Travel

backpackers ที่พักราคาถูก


ที่พักราคาถูกในทัสมาเนียนั้นหาไม่ยาก เราอาจพักที่ YHA ในโฮบาร์ตก็ได้หรือจะพัก backpackers ก็มีอยู่มากมาย

Backpackers เป็นที่พักราคาถูกสำหรับนักเดินทาง เป็นที่พักสำหรับนักท่องเที่ยวที่ชอบแบกเป้ไปโน่นมานี่ตามใจชอบ ไม่ใช่ Tourists ที่ชอบพักโรงแรมแบบหรูๆ นะครับ ที่พักราคาถูกอาจจะใช้ชื่อต่างกัน เช่น Hostels หรือ Guesthouse หรืออะไรก็ตามแต่ แต่ในที่นี้ขอพูดว่าเป็นที่พักราคาย่อมเยา คนอย่างเราๆ พอจ่ายได้ จะไม่พูดถึงโรงแรมหรู ราคาแพงแบบที่นักการเมืองใช้เงินหลวงไปพักนะครับ อันนั้นใครๆ ก็ทำได้ แต่ที่พักแบบเราๆ น่ะ ทำไม่ได้ทุกคน

ที่พักราคาถูกในโฮบาร์ตนั้นหาไม่ยาก เปิดอินเตอร์เน็ตดูก็สามารถจองได้ หรือโทรไปหาที่พักเมื่อถึงสนามบินแล้ว

YHA (Youth Hostel Australia) ในทัสเมเนียมีอยู่ทั่ว มีที่ โฮบาร์ต ที่ บิชิโน (Bicheno) สโตรน(Strahan)
ที่เดว่อนพอร์ต (Devonport) ที่ St. Helens ที่ Bridport และที่ Cradle mountain

ลองเปิดอินเตอร์เน็ต หาข้อมูลที่พักดูนะครับ

ภาพจาก Transit centre backpackers

โฮบาร์ต Hobart



โฮบาร์ตเป็นเมืองหลวงของรัฐทัสเมเนียและจัดว่าเป็นเมืองที่มีพลเมืองหนาแน่นที่สุดของรัฐนี้ โฮบาร์ตก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๓๔๖ และว่ากันว่าเป็นเมืองที่เก่าแก่ที่สุดเป็นอันดับสองของออสเตรเลียรองมาจากนครซิดนีย์

เมืองนี้มีพลเมืองประมาณ ๒๐๘,๒๘๗ คน (จากสถิติปี พ.ศ. ๒๕๕๑) โฮบาร์ตนับเป็นศูนย์กลางทางการเงินการบริหารของทัสเมเนียและเป็นศูนย์กลางทางการเดินเรือของออสเตรเลียและภูมิภาคแอนตาร์กติกด้วย

เมืองหลวงแห่งนี้ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของรัฐ อยู่ปากแม่น้ำเดอร์เว้นต์ มีภูเขา Mount Wellington ซึ่งมีความสูงถึง ๑,๒๗๑ เมตรเป็นฉากหลังที่สวยงามมาก ผมเคยขึ้นไปยอดเขาแห่งนี้ ลมแรง และอากาศหนาวมาก

ภาพจาก Backpackers guide to Australia

สนามบินของทัสเมเนีย (Tasmanian Airports)


สนามบินของทัสเมเนียมีสองแห่ง คือที่ สนามบินนานาชาติโฮบาร์ต(Hobart International Airport)และสนามบิน ลอนเชสตัน (Launceston Airport)

ส่วนใหญ่นักท่องเที่ยวนิยมบินไปลงสนามบินนานาชาติโฮบาร์ตซึ่งเป็นเมืองหลวงอยู่ทางใต้ของเกาะและเดินทางท่องเที่ยวโดยรถยนต์ไปลอนเชสตันที่อยู่ทางเหนือของรัฐ แต่ที่ผมไปนั้น ผมไปลงที่สนามบินลอนเชสตันโดยตรง ผู้โดยสารสามารถเลือกได้ว่าจะไปลงที่ไหนก่อน

สนามบินนานาชาติโฮบาร์ต (Hobart International Airport)เป็นสนามบินมาตรฐานที่สามารถให้บริการทั้งสายการบินภายในและนานาชาติ สายการบินที่มาลงได้แก่ Qantas, Virgin Blue, JetStar, Tiger Airways และ Tasair หากต้องการจะใช้บริการสายการบินเหล่านี้ให้ตรวจสอบตารางการบินให้แน่ชัดก่อนจอง

สนามแห่งนี้คุยว่าเป็นสนามบินที่ทันสมัยระดับโลก ซึ่งเป็นความภูมิใจอย่างหนึ่งชาวชาวทัสเมเนียและเป็นสนามบินที่มีระบบตรวจสอบสัมภาระที่ดีที่สุด (ไม่ต้องต้องกลัวหายบ่อยๆ เหมือนบางประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้......อันนี้ผมพูดเอง)

หากสนใจ สามารถตรวจสอบเวลาเครื่องบินเข้าออกได้ที่เว็บไซต์ของแต่ละสนามบิน

ภาพจาก Hobart International Airport

สายการบินที่บินข้ามไปทัสเมเนีย



มีสายการบินบินไปทัสเมเนียหลายสายให้เลือกบินได้ตามสะดวก

สายแรกที่จะกล่าวถึง Jetstar สายการบินนี้เป็นสายการบินราคาถูกของออสเตรเลีย มีบินทั้งภายในและต่างประเทศ บินไปทั่วออสเตรเลียวันละหลายๆ เที่ยว บินมาเมืองไทยก็เยอะ

สายต่อมาที่ขอแนะนำคือ Virgin Blue

สายการบินนี้ก็เป็นสายการบินราคาถูกของออสเตรเลียอีกสาย บินทั้งภายในและต่างประเทศเช่นกัน

สายการบินเก่าแก่ของออสเตรเลียอีกสายหนึ่งได้แก่ Qantaslink

Qantaslink เป็นสายการบินที่ใหญ่ที่สุดในออสเตรเลียและภาคพื้น มีเที่ยวบินหลายหลายในออสเตรเลีย บินทั่วประเทศมากกว่า ๕๕ เมือง มีเครื่องบินมากที่สุด ซื้อตั๋วที่สนามบินหรือจองจากกรุงเทพก็ได้

สายการบินอิสระอีกสาย คือ Regional Express (Rex) เป็นสายการบินอิสระที่ใหญ่ที่สุดของออสเตรเลีย มีบินออกจากเมืองใหญ่ๆ เช่น Sydney, Melbourne, Adelaide และ Brisbane ไปยังที่หมายต่างๆมีบริการคนพิการด้วย

Tiger Airways เป็นอีกสายการบินราคาอีกสายหนึ่งที่จะแนะนำ สายการบินนี้บินทั้งภายในและต่างประเทศ

ภาพจาก Totaltravel.com

Wednesday, 5 August 2009

ทัสเมเนีย เกาะที่คนไทยยัง(ค่อย)ไม่รู้จัก



แม้เกาะทัสเมเนีย ยังไม่เป็นที่นิยมสำหรับนักท่องเที่ยวชาวไทยมากนัก แต่สำหรับชาวยุโรปแล้ว ส่วนใหญ่รู้จักกันดีว่าเป็นเกาะที่สวยงามมาก มีป่าฝนที่ได้รับการยกเป็นมรดกโลก มีหาดทรายเงียบสงบและภูเขาสูงที่งดงามมากมาย มีทัศนียภาพตระการตาตามลักษณะพื้นที่เกาะขนาดใหญ่ (พื้นที่ ๖๘.๔๐๑ ตร.กม)

เกาะทัสเมเนียนี้เป็นรัฐหนึ่งของออสเตรเลีย อยู่ข้างใต้รัฐวิคโทเรียสองร้อยกว่ากิโลเมตร (๒๔๐ กม.) มีพลเมืองประมาณ ๕๐๐.๐๐๐ คน(สถิติเดือนธันวาคม ๒๕๕๑)

หากจะไปเยี่มชมรัฐที่เป็นเกาะแห่งนี้อาจไปได้สองทาง

ทางแรก คือเดินทางโดยเครื่องบินภายในจากเมลเบิร์นและซิดนีย์หรือจากที่อื่นๆ ของออสเตรเลีย

อีกทางหนึ่งโดยทางเรือ Spirit Of Tasmania ที่ออกจากพอร์ต เมลเบิร์น(Port Melbourne)ของวิคโทเรียทุกวัน ออกเดินทางหกโมงเย็นถึงท่าเรือ Davon Port ของทัสเมเนียแปดโมงเช้า

ภาพจาก Tasmania Convention Bureau

Wednesday, 4 February 2009

Martin's Travelling (4)


After arriving in Pinxiang, twenty minutes later, the driver gave me a wry smile when I told him again that I needed to find an ATM before I could pay him. To his credit, he took it lightheartedly, and drove me 30m down the road to a bank. I trusted him with my main backpack, which he wanted as insurance in case I would run away without paying (not that I would have been able to outrun him with an extra 10kg). It was a big relief when the ATM spat out the cash, because, having cancelled my main Nationwide debit card in Hanoi, my Nationwide credit card was the only key I had left to access my money.

Pinxiang was my first destination in China and, despite being there for only half an hour, it was long enough to get some strong first impressions of the country that was to be home for the next few weeks. The first thing that struck me was the vast difference in cleanliness between China and Vietnam. Compared to that of Malaysia, Thailand, Cambodia and Vietnam, the level of cleanliness was considerably higher. In China I saw rubbish bins on the streets for the first time since leaving Kuala Lumpur. There were no heaps of rubbish on the pavements, or bin bags full of rubbish on the streets. I have seen no street rats in China, something I saw quite a lot in SE Asia. Littering is frowned upon, whereas in the SE Asian countries I visited, bar Singapore (which was quite the opposite), littering was seen as the most efficient way of disposing of waste. It would then either get eaten by an animal, be washed away by rain, or be swept up by litter pickers.

Tuesday, 27 January 2009

Martin's Travelling 3


Over the border I crossed, without any problems as I mentioned earlier. I was, for the second time in two months, without any money, and having no means of getting any. I was glad that the Chinese officials didn't ask me any questions about my financial situation, as this may well have caused some problems.

As I walked into China a mini bus driver approached me and offered me a lift to Pinxiang, the nearest town, about twenty minute's drive away. He offered to take me for thirty yuan, about 2.5 pounds. Having no money on me, I felt in no position to bargain. I tried to tell him that I needed to find an ATM first, but, judging from his reaction when we arrived, he clearly hadn't understood me. As we walked to his mini bus I was surrounded by taxi drivers and mini bus drivers, all after my business. In hindsight I shouldn't have agreed on a deal so early, as all that competition would have knocked at least 10 yuan off the price. Someone even offered to take me for three yuan! I guessed he was joking, but maybe it would have been worth checking.

Saturday, 24 January 2009

Martin's Travelling 2


After what couldn't have been more than five minutes he dropped me off at some noodle eatery. I got off, confused. I asked him where the border was and why he hadn't taken me there as agreed. With sign language and a few words of English, he claimed that he thought I wanted to go somewhere for food. As I judged things, there was a very high chance that he was lying to get more money. I gave him five of the seven dong I had, to give him the benefit of what little doubt there was left. I was still in the town, and I estimated about 2km from the border, so off I trudged to look for someone I could trust and who would be able to understand me. I soon found a hotel and they pointed me in the right direction of the mountainous border crossing.

Soon after I left the hotel another motorbike taxi driver approached me. I told him I only had 2k dong left, and, after a some hesitation, he motioned that I should jump on. I could hardly believe that he would take me for such a price. Two thousand dong is worth only 7p! And petrol isn't cheap in Vietnam, as was the case everywhere in SE Asia. I reasoned that the offer must have been out of kindness, but I later found out that he didn't believe me about the money, and that he thought I had more on me. When we arrived at the border he showed me that he wanted 10k dong, and he was really quite insistent about it. When I told him again that I didn't have any more money on me - using body language and the 2k dong note as a visual clue - he got angry. I half-jokingly offered him my last two bananas too, but he didn't want any of it. In the end I just left the note in the basket on his motorbike and walked off. In a way I felt bad about it, but glad that I had made it clear to him in the first place.

Wednesday, 21 January 2009

Martin's Travelling 1


A bagpacker friend, Martin Bristow, traveling abroad sent me his diary letter. It’s a fantastic one. It should be shared on the blog. He’s now traveling in Asia.

Dear all,

After five days in Hanoi I decided to move on. I was strong again after my fever and China was beckoning. After the trouble at the Chinese embassies in Sydney, Wellington and Kuala Lumpur, I was half expecting something to go wrong at the border. Fortunately everything went smoothly.


The night before I left Hanoi I checked my wallet and saw that I had just enough money for some breakfast the following morning and the train ticket to the border. Actually, I didn't cross the border into China with a single dong. The train took me to Dong Dang, a town three kilometres from the Vietnam/China border. I had 10k dong left, about 35p. I was a little hungry at that point, having only eaten a few items from a bakery before I left Hanoi. Also, I hadn't eaten much over the previous few days due to my fever, so I was generally trying to catch up. I found a small local shop and bought some bananas for 3k dong. I then offered a motorbike taxi driver the rest of my money to get to the border. He laughed when I said I only had 7k on me, and initially refused to take me for such pitiful pay. However, as I started to walk off he called me back, as is often the case with offering money for a service/product. So I jumped onto the bike with my big backpack on my back and my little backpack on my front, and off we sped.